วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
พ่อแม่เดินทางต่อไปแบบไม่กดดัน
เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนอยากให้ลูกเก่งภาษา อยากให้ลูกมีทุนปัญญาที่ดี เพื่อการศึกษาและหน้าที่การงานในอนาคต พ่อแม่ยอมทำทุกอย่าง ยอมลงทุนลงแรง สิ่งไหนที่ว่าดีก็จะหยิบยื่นให้ลูกของตนได้เสมอ การลงทุนสอนภาษาให้ลูกเองก็เช่นกัน เรารู้ว่าการสอนลูกเองต้องดีกว่าคนอื่นสอนเป็นแน่ แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่เริ่มท้อแท้ สอนลูกแล้วเห็นผลช้ามาก ครอบครัวเราก็เช่นกันค่ะ ลูกเราเริ่มต้นพูดช้ามากๆเหมือนหอยทาก กว่าจะพูดได้แต่ละคำนี่นานโขเลย ผ่านมาแล้วครึ่งปียังพูดไม่เป็นประโยคเลย แต่เราอยากให้กำลังใจพ่อแม่ทุกคนว่า "ลูกเราต้องการเวลา ถ้าลูกเราช้าอย่าพึ่งไปเร่ง อยากให้พ่อแม่ค่อยเป็นค่อยไป ถึงแม้จะช้ามากแค่ไหน ถ้าคุณเดินหน้าต่อไป สักวันก็ต้องถึงเส้นชัย"
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
ครอบครัวนี้งดดูฟรีทีวีต่อหน้าลูก
ครอบครัวสองภาษาเสมือน คือ การจำลองสถานการณ์ว่าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เหมือนครอบครัวสองภาษาจริงๆ มันคือการเสแสร้ง แกล้งทำว่าเราไม่ได้อยู่ในประเทศไทยนะ เรามีสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเด็ก 2 ภาษา ครอบครัวเราจึงจินตนาการว่าเราอยู่ประเทศอเมริกา เราพูดภาษาอังกฤษกับลูกทุกเวลา ออกไปที่ไหนๆก็มีแต่ภาษาอังกฤษ เล่นกับลูกก็เป็นภาษาอังกฤษ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ร้องเพลงยังเป็นภาษาอังกฤษ ทำทุกๆอย่างให้เป็นภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูทีวี ถ้าเปิดเป็นภาษาไทยให้ลูกดูแล้ว นึกไม่ออกเลยว่าครอบครัวสองภาษาเสมือนของเราจะสร้างเด็ก 2 ภาษา ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559
สร้างคลังคำศัพท์ด้วยภาษามือ
"Sometimes, I see you stuck for such a long time."
หนึ่งปัญหาของพ่อแม่เวลาเลี้ยงลูกน้อย คือ สื่อสารกับลูกไม่เข้าใจ "หนูอยากบอกอะไรกันแน่ลูก" ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ พ่อแม่ทำยังไงคะ ก็เดาค่ะ เดาได้อย่างเดียว
เมื่อมีปัญหา ก็ต้องมีทางแก้ ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุยกับเบบี๋รู้เรื่อง ครอบครัวเราเลือก ภาษามือ ค่ะ
หนึ่งปัญหาของพ่อแม่เวลาเลี้ยงลูกน้อย คือ สื่อสารกับลูกไม่เข้าใจ "หนูอยากบอกอะไรกันแน่ลูก" ถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ พ่อแม่ทำยังไงคะ ก็เดาค่ะ เดาได้อย่างเดียว
เมื่อมีปัญหา ก็ต้องมีทางแก้ ตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุยกับเบบี๋รู้เรื่อง ครอบครัวเราเลือก ภาษามือ ค่ะ
ป้ายกำกับ:
เด็ก,
ภาษามือ,
เลี้ยงลูก,
สองภาษา,
sign language
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559
เราเป็นครอบครัวสองภาษาเสมือน
เราเป็นคนไทย สามีเป็นคนไทย แถมยังได้ลูกเป็นคนไทย ครอบครัวของเราเป็นครอบครัวไทยล้วน
เพื่อนเราเป็นคนไทย สามีเป็นคนอเมริกัน เลยมีลูกเป็นลูกครึ่งไทยอเมริกัน ครอบครัวนี้เป็นครอบครัว 2 ภาษา
คุณคิดว่าครอบครัวไหนได้เปรียบในการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็ก 2 ภาษา?
เพื่อนเราเป็นคนไทย สามีเป็นคนอเมริกัน เลยมีลูกเป็นลูกครึ่งไทยอเมริกัน ครอบครัวนี้เป็นครอบครัว 2 ภาษา
คุณคิดว่าครอบครัวไหนได้เปรียบในการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็ก 2 ภาษา?
สร้างเด็ก 2 ภาษา ง่ายอย่างไร
ง่ายตรงที่เราสามารถเริ่มเรียนไปพร้อมกับลูกได้เลย พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องเก่งภาษา แค่เปิดใจเรียนรู้วิธีการเริ่มต้นพูดของเบบี๋อย่างเป็นขั้นเป็นตอน (ซึ่งจะนำมาพูดในบทต่อๆไป)
ผู้เขียนเองถึงแม้จะเรียนจบเอกสาขาวิชาภาษาอังกฤษมาโดยตรง มีประสบการณ์การทำงานกับชาวต่างชาติมาพอสมควร เมื่อเริ่มต้นคุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ยังต้องเรียนรู้ภาษาเบบี๋ใหม่ เอ๊ะเบบี๋เริ่มต้นพูดยังไงนะ
วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559
บทนำ - ทำไมสร้างเด็ก 2 ภาษา
ในยุคสมัยนี้เริ่มมีพ่อแม่จำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆหันมาเห็นความสำคัญของภาษาที่ 2 นอกจากภาษาแม่ อยากให้ลูกพูดได้หลายภาษา และภาษายอดนิยมที่รู้จักกันดีว่าถ้าพูดได้จะมีชัยไปว่าครึ่งคือ ภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษไม่ต้องบอกให้ยืดยาวก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "สำคัญมาก" ถ้าอยากให้ลูกพูดได้ทำอย่างไร
ก็ส่งไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์สิ "มันแพงไป"
ก็ส่งไปโรงเรียน 2 ภาษา สิ "ยังแพงอยู่ดี"
คิดไปคิดมา นั่งคิดอยู่นาน คิดไตร่ตรองดีดี "จะดีกว่าไหม ถ้าเราเป็นคนเริ่มลงมือสอนให้ลูกเอง งบน้อย แต่ผลคุ้มค่าและยาวนาน"
ภาษาอังกฤษไม่ต้องบอกให้ยืดยาวก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "สำคัญมาก" ถ้าอยากให้ลูกพูดได้ทำอย่างไร
ก็ส่งไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์สิ "มันแพงไป"
ก็ส่งไปโรงเรียน 2 ภาษา สิ "ยังแพงอยู่ดี"
คิดไปคิดมา นั่งคิดอยู่นาน คิดไตร่ตรองดีดี "จะดีกว่าไหม ถ้าเราเป็นคนเริ่มลงมือสอนให้ลูกเอง งบน้อย แต่ผลคุ้มค่าและยาวนาน"
ป้ายกำกับ:
2 ภาษา,
เด็ก,
ภาษาอังกฤษ,
เลี้ยงลูก,
Bilingual
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)